การพักผ่อนของลูกน้อยเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ยิ่งช่วงเดือนแรกๆ นั้น การพักผ่อนของหนูน้อยนั้นคือการพัฒนาการเจริญเติบโตของเขานั้นเอง แล้วก็เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ ท่านนั้นคงเคยเจอกับ ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย ทำให้หนูน้อยพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วเมื่อเป็นเช่นนั้นน้องหนูของคุณแม่ก็จะมีอาการงอแง
ซึ่งทำให้การเลี้ยงดูนั้นยากขึ้น การเดิม คุณแม่ทั้งหลายทราบหรือไม่อะไรคือ…ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย? เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ ท่านนั้นยังคงไม่ทราบหรือบางคนทราบแล้ว แต่ก็ยังไม่มีวิธีรับมือกับ ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย ใช่ไหมหล่ะค่ะ วันนี้ทาง ก็เลยนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่้เกี่ยวกับ ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย รวมไปถึงวิธี ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย มาให้คุณแม่ทั้งหลายได้ทราบกันคะ ทาง ทราบดีว่า ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย คงเป็นเรื่องที่ทำให้คุณแม่หลายๆ ท่านเป็นกังวลใจ แต่ทว่าวันนี้ มาช่วยแก้ไขปัญหาของลูกน้อยให้คุณแม่ทุกท่านได้สบายใจกันแล้วค่ะ ถ้าอย่างนั้นแล้วคุณแม่ทั้งหลายตามมาดู ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย พร้อมกับวิธีรับมือกับ ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย กันเลยค่ะ
6 ปัญหาที่รบกวนการนอนของลูกน้อย
1.ปวดท้องโคลิก
หรือเรียกแบบไทยๆ ว่า ร้องร้อยวัน แม่ฝนเล่าว่า เมื่อน้องภูอายุ 2 เดือนเริ่มออกอาการโคลิก คือ ทุกๆ วันเวลาหนึ่งทุ่มครึ่ง-สี่ทุ่ม น้องภูจะร้องไห้จ้าแบบไม่มีสาเหตุ พยายามปลอบให้หยุดร้องยิ่งปลอบก็ยิ่งร้องหนัก เสียงร้องดังแหลม เกร็งแขนและขาไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น แม้ว่าจะอุ้มหรือให้นม สงสัยว่านี่คืออาการของโคลิกใช่หรือไม่คะ คุณหมอบอกมา เด็กทารกที่เป็นมักจะเริ่มมีอาการโคลิกตั้งแต่ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังคลอดปวดท้องโคลิกเป็นอาการซึ่งไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเด็กจะร้องไห้ ซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเดิม ๆ โดยมากจะเป็นช่วงเวลาเย็นๆ ใกล้ค่ำ หรือช่วงรอยต่อระหว่างกลางวันและกลางคืน อาการอาจจะรุนแรงขึ้นในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ แล้วหายไปเองเมื่อเด็กอายุประมาณ 3 เดือน ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าโคลิกเกิดจากลมในท้อง ซึ่งถูกสร้างขึ้นระหว่างวัน ดังนั้น การให้ยาขับลมอาจได้ผล การอุ้มพาดบ่าหรือให้นอนคว่ำบนตักคุณพ่อคุณแม่ พร้อมลูบหลังไปด้วยอาจช่วยบรรเทาอาการ
ข้อสังเกต
- ลูกร้องคล้ายปวดท้อง โดยเกร็งท้อง มือ และขางอเข้าหาตัว
- ร้องเป็นระยะ วันละ 1-2 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นตอนเย็นหรือค่ำ โดยมีอาการครั้งละ 1-2 ชั่วโมง
- ระหว่างที่ไม่มีอาการลูกดูปกติ แข็งแรงดี
- ไม่มีอาการแสดงว่าหิว
Mom can do
- ก่อน อื่นตัวคุณพ่อคุณแม่เองต้องไม่หงุดหงิดโมโหลูกหรือเขย่าตัวลูกเวลาที่ลูก ร้องไห้ ให้อุ้มลูกเดินไปมา เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปิดเพลงเบาๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย
2.ความหิว
กระเพาะน้อยๆ ของลูกตัวเล็ก แม่มลเล่าว่า น้องเกรทอายุ 4 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว กลางคืนตื่นทุก ๆ 3 ชั่วโมง และช่วงใกล้เช้าทุกชั่วโมง ตื่นมาก็ดูดนมนิดหน่อยถึงหลับต่อได้ แต่แม่แทบไม่ได้นอนเลยค่ะ จะแก้ไขอย่างไรได้บ้างคะ คุณหมอบอกมา เนื่องจากทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือน โดยมากมักจะตื่นมากลางดึกเพราะหิว หลังจากให้นมยามดึก เด็กโดยมากก็สามารถนอนหลับต่อได้เองค่ะ แต่สำหรับบางคนที่อายุเกิน 6 เดือนไปแล้วก็ยังคงตื่นมากลางดึกเพื่อกินนม คงต้องมาดูว่า ลูกร้องเพราะหิวหรือว่าเป็นเพราะความเคยชิน หากคุณแน่ใจว่าลูกได้รับนมอย่างพอเพียงช่วงก่อนนอน แต่ลูกยังคงร้องเพราะติดการกินนมในมื้อดึก ขอให้ลองลดปริมาณนมลง แต่หากว่าลูกไม่ยอมกินนมในตอนกลางวัน แต่มาเน้นกินนมตอนกลางคืนแทน แสดงว่าระบบการกินไม่ปกติค่ะ แก้ไขโดยให้ลูกกินน้ำเปล่า หรือผสมนมให้เจือจางในตอนกลางคืน ซึ่งจะทำให้ลูกหิวมากขึ้นในช่วงกลางวัน เมื่อให้นมในตอนกลางวันลูกจะกินนมมากขึ้นเองค่ะ
ข้อสังเกต
- ลอง จดบันทึกการนอนและการกินในรอบวันของลูก โดยบันทึกทั้งพฤติกรรม เช่น การดูดไปเรื่อย ๆ การดูดอย่างหิวโหย เวลาที่ใช้ในแต่ละมื้อ รวมทั้งระยะห่างระหว่างมื้อ
- หาก ลูกดูดไปเรื่อย ๆ อาจเป็นไปได้ว่า เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่ใช่เพราะความหิว ต้องพยายามให้หยุดกินเมื่อรู้สึกว่าอิ่มแล้ว หลังจากนั้นพาเข้านอน
Mom can do
- หากสังเกตว่าลูกเคยชินกับนมมื้อดึกมากกว่าเป็นเพราะหิว ลองวิธีต่อไปนี้
- ให้น้ำแทนนม อาจค่อย ๆ ผสมนมให้เจือจางลงเรื่อย ๆ และค่อย ๆ ลดเวลาของการให้นมแต่ละครั้ง
- เมื่อลูกร้องควรรอสัก 5 นาที ก่อนเข้าไปหา เพราะลูกอาจหลับต่อได้ด้วยตัวเอง
ก่อน ให้นมมื้อดึก ต้องมั่นใจว่าลูกหิวจริง ๆ เพราะการที่ให้ลูกตื่นขึ้นมากลางดึกสงบลงด้วยการให้นมเป็นเรื่องง่ายมาก แต่ถ้าทำอย่างนั้นบ่อย ๆ ลูกจะตื่นขึ้นมา เพราะความเคยชินไม่ใช่จากความหิว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกตื่นขึ้นมาเพราะเปียกแฉะ ร้อน หนาว หรือฟันกำลังขึ้น เมื่อลูกโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะพบว่า ระยะห่างระหว่างมื้อของนมมื้อดึกนานขึ้น จนในที่สุด ลูกจะงดนมมื้อดึกได้ด้วยตัวเอง
3.ฟันกำลังขึ้น
ฟันที่กำลังขึ้นอาจสร้างความเจ็บปวดให้ลูกจนร้องไห้ตลอด ทำให้ลูกนอนหลับได้ไม่ยาวในช่วงกลางคืน แม่ปุ๋มเล่าว่า น้องน้ำมนต์อายุ 6.5 เดือน ช่วงกลางคืนที่เคยนอนยาวก็ตื่นมาร้องทุก 3-4 ชั่วโมง กลางวันก็งอแงต้องอุ้มปลอบกันทั้งวัน สังเกตเห็นที่เหงือกมีตุ่มขาวๆ ขึ้นมาไม่ทราบว่าเป็นการงอแงจากอาการฟันขึ้นหรือไม่คะ คุณหมอบอกมา โดยทั่วไปเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนและจะต่อเนื่องไปจนอายุ 3 ปี โดยทารกแต่ละคนจะมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บปวดที่แตกต่างกันไป คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยหายเจ็บปวดและช่วยให้คุณและลูกน้อยนอนหลับสนิทใน ตอนกลางคืนได้ดังนี้ค่ะ ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กช่วยให้ดีขึ้นเหมาะ กับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป) หรืออาจใช้เจลสำหรับทาฟันที่กำลังขึ้นเพื่อให้รู้สึกชา ซึ่งเมื่อทาแล้วเด็กจะรู้สึกชาเพื่อบรรเทาอาการปวด และให้เด็กนอนหลับในช่วงดังกล่าว แต่ข้อนี้ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยานะคะ ใช้สมุนไพรไทย เช่น ใบแมงลักโขลกให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย ทาบริเวณเหงือกที่ปวดของลูก อาจช่วยบรรเทาอาการได้ หรือต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่มวันละ 2
ครั้ง
ข้อสังเกต
- ลูกมีอาการหงุดหงิด งอแงมากขึ้น และร้องมากขึ้นในเวลากลางคืน
- น้ำลายไหลมาก แก้มของลูกจะเป็นสีแดง เหงือกของลูกจะบวมแดง
- ลูกอยากดูดนมแม่หรือนมขวดมากขึ้น
- ลูกจะนอนหลับไม่สนิท
Mom can do
- ถ้าเหงือกของลูกไม่บวมหรือเจ็บจนแตะไม่ได้ ให้คุณแม่ล้างมือให้สะอาดแล้วลองใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกของลูกเบาๆ อาจช่วยให้ดีขึ้นได้
- ถ้าเหงือกมีอาการบวมแดงมาก ควรปรึกษาหมอฟัน
4.เจ็บป่วยเฉียบพลัน
เช่น ท้องเสีย แพ้อาหาร แม่อิงเล่าว่า น้องอายุมิ อายุ 8 เดือน ตอนกลางวันร่างกายปกติดี แต่หลังจากการตื่นมาให้นมมื้อดึกแล้ว สักพักก็ตื่นและร้อง อาเจียน เป็นมา 2 คืนแล้วไม่ทราบว่าควรทำอย่างไรดีคะ คุณหมอบอกมา การที่คุณแม่สังเกตเห็นถึงความผิดปกติต่างๆ เวลาที่ลูกป่วยไข้ไม่สบายนั้น ข้อมูลจากคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้คุณหมอวินิจฉัยอาการและรักษาลูกน้อยได้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่ง ขึ้น เช่น อาการไข้ การกินนม อาเจียน การขับถ่าย หรืออาการอื่นๆ
ข้อสังเกต
- งอแง ไม่ยอมกินนม อาหาร
- มีไข้ ซึมผิดปกติ อาเจียน หรือท้องเสีย หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
- ต้องการให้อุ้มตลอดเวลา
- หอบ หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการชัก
Mom can do
- หมั่นสังเกตอาการของลูก หากลูกมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันทีค่ะ
- จดอาการที่เป็น อาหารที่กิน พฤติกรรมการเล่น ก่อนเกิดอาการ แล้วแจ้งคุณหมอ อย่างละเอียด
5.เจ็บป่วยเรื้อรัง
เด็กที่เป็นโรคประจำตัวเช่น หอบ หืด ภูมิแพ้ แม่นันท์เล่าว่า น้องนนท์อายุ 11 เดือน จะมีอาการหายใจดังครืดคราด คล้ายกับอาการหอบทุกครั้งเมื่อเมื่ออากาศเย็น ควรทำอย่างไรดีคะ
คุณหมอบอกมา คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความอบอุ่นอยู่ใกล้ๆ ลูก ขณะหอบลูกน้อยจะนอนลำบาก คุณแม่ควรให้ยาตามที่คุณหมอสั่งและอุ้มลูกน้อยไว้บนตักประคองตัวลูกไว้ อาจมีหมอนวางบนตักลูกน้อย เพื่อลูกน้อยจะได้ซบหน้าลงบนหมอนนั้นจนกว่าจะหายใจสะดวกขึ้น ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบคุณหมอ
ข้อสังเกต
- หลีกเลี่ยงข้าวของเครื่องใช้ที่สะสมฝุ่น
- ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอนลูก
- ใช้ผ้าปูที่นอนชนิดพิเศษซึ่งป้องกันไรฝุ่นได้
- ดูดฝุ่นเครื่องนอนของลูกอย่างสม่ำเสมอ
- คอยสังเกตและเตรียมรับมือกับอาการป่วยของลูกไว้ให้พร้อมค่ะ
Mom can do
- ถ้าลูกมีอาการเจ็บป่วยเรื้องรังอื่น ๆ ที่รบกวนการนอนให้ปรึกษาคุณหมอถึงวิธีการช่วยบรรเทาอาการของโรคนั้น ๆ เพื่อให้ลูกหลับได้สบายขึ้นในตอนกลางคืน ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจโรคของลูกด้วย เพราะลูกอาจจะหงุดหงิดง่าย งอแงร้องกวนตลอดคืน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเห็นใจ และมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่โมโหหรือหงุดหงิดกับสิ่งที่ลูกแสดงออกมา
6. ลูกติดพ่อแม่มาก
เกิดขึ้นจากความกังวลในการแยกจากคุณพ่อคุณแม่ แม่ปรางเล่าว่า น้องซันอายุ 9 เดือน ช่วงนี้ลูกมักมาร้องตื่นกลางดึกบ่อย ต้องสลับกันอุ้มพาเดินรอบห้องนอนจนกว่าจะหลับคาอก แล้วจึงไปวางที่นอน แต่บางครั้งหลับได้ 1-2 ชั่วโมงก็ตื่นร้องอีก ไม่ทราบเกิดจากสาเหตุใด คุณหมอบอกมา ลูกติดพ่อแม่มาก เด็กบางคนติดพ่อแม่มากกว่าเด็กคนอื่น หลายคนเริ่มติดพ่อแม่ในขั้นของพัฒนาการด้านการรับรู้สภาพความเป็นจริง ซึ่งอยู่ในช่วงอายุประมาณ 8 เดือน เด็กเริ่มเรียนรู้ว่า พ่อแม่และลูกไม่ใช่คนเดียวกัน ส่วนใหญ่จึงแสดงออกด้วยการติดพ่อแม่มากขึ้นในระยะนี้กินเวลาประมาณ 2 เดือน และถูกเรียกว่า ความกังวลในการแยกจาก ควรฝึกให้ลูกนอนหลับได้เองก่อนเข้าสู่ช่วงนี้ แม้ช่วงนี้จะยังฝึกให้เขาสงบด้วยตัวเองได้ยากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจหาวิธีที่คิดว่าเสริมความมั่นใจกับลูกในระดับที่เขาต้องการ และใช้เวลาสักระยะก่อนตัดสินใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ลูกจะเข้าใจในที่สุดว่าการที่คุณพ่อคุณแม่จากไปไม่ใช่การทอดทิ้งเขา
Mom can do
วิธีฝึกลูกน้อยให้หลับสบาย
- พา ลูกไปนอนบนเตียงขณะที่ลูกยังตื่นอยู่ทุกครั้ง หากลูกหลับระหว่างให้นมมื้อก่อนนอน ลองขยับเวลากินนมให้เร็วขึ้นเพื่อให้ลูกอิ่มก่อน หรืออาจกระตุ้นที่นิ้วหัวแม่เท้าให้ตื่นขณะวางลงบนเตียง
- พูดกับลูกด้วยประโยคเดิมทุกครั้งเมื่อพาลูกไปนอนบนเตียง เพื่อช่วยกระตุ้นเตือนให้ทราบว่าได้เวลานอนแล้ว
- ให้ลูกหลับเองด้วยวิธีเดียวกัน ไม่ว่าจะพาลูกไปนอนบนเตียงตอนกลางคืน งีบหลับตอนกลางวัน หรือพากลับไปนอนในกรณีตื่นขึ้นมากลางดึก (หากนอนตอนกลางวัน อาจบอกลูกว่าถึงเวลานอนแล้ว ด้วยประโยคเดียวกับที่บอกเป็นกิจวัตรยามเข้านอนตอนกลางคืนก็ได้)
- ควบคุมทั้งอากาศ เสียง แสงแดด บรรยากาศต่างๆ เพื่อให้ลูกนอนหลับได้นานและยาวขึ้น
ขอบคุณบทความดีๆเกี่ยวกับแม่และเด็กจาก gigail.com |
|